2 ธ.ค. 2554

ครั้งที่ ๓๓ สถานการณ์ความสนใจพุทธศาสนาสมััยนี้

สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในสมัยนี้
 
- เด็กนักเรียน นักศึกษา  ส่วนใหญ่เห็นว่าพุทธศาสนาเป็นเพียงความเชื่องมงาย เป็นประเพณี  ใช้ชีวิตตามความอยาก
โดยที่ไม่มีเบรค
- ผู้ใหญ่วัยทำงาน  ส่วนใหญ่สนเรื่องวัตถุ ไม่สนเรื่องศีลธรรม เพราะไม่เชื่อเรื่องกรรม บุญ-บาป 
ถ้าจะมีเบรกบ้างก็คือใช้กติกาสังคม หรือค่านิยม เป็นตัวเบรกพฤติกรรม
- คนแก่วัยหลังเกษียณ  ส่วนใหญ่ยุ่งกับลูกหลาน ยุ่งกับเรื่องสุขภาพ ยุ่งกับการงานที่ไม่ยอมปล่อยวาง
มีบางส่วนเพิ่งจะเริ่มหันหน้ามาเข้าวัด พยายามขวนขวายเจริญกุศลในระดับทาน-ศีลแต่ก็เพื่อหวังผลในชาติหน้า
และทำกันแบบงมงาย เชื่อตามๆ กัน ไม่ตั้งอยู่บนเหตุผลที่ตรงตามสัจธรรมหรือกฎธรรมชาติ 
ยังไม่สนใจที่จะเริ่มศึกษาหลักคำสอนทางพุทธศาสนา  คิดว่ามรรคผลนิพพานเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับชาตินี้        


จะเห็นได้ว่า...
คุณค่าในระดับสูงของพุทธศาสนาแทบจะไม่ได้รับความสนใจจากคนวัยใดเลย
ทั้งๆ ที่ยุคนี้เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร  การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาก็มีกว้างขวาง
กว่าสมัยก่อน  โดยผ่านช่องทางมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ตำรา  เทป  ซีดี  รายการวิทยุ โทรทัศน์
อินเตอร์เน็ต  การเรียนนักธรรม-ปริยัติ  วิทยากร-นักเทศน์  ฯลฯ


สาเหตุ เพราะว่า ...  1. 

1. เผยแพร่ไปมากมาย แต่คนที่สนใจจะรับฟังข้อมูลมีน้อย
2.2. สื่อทั้งหลายที่เผยแพร่ออกไปแม้จะถูกรับฟัง แต่ก็ไม่สามารถกระตุ้นให้คนนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง เพราะความเคยชินกับระบบการเรียนในโรงเรียนเป็นเวลานาน  ซึ่งเป็นการเรียนแบบท่องจำเพื่อสอบ หรือเอาไว้เป็นเรื่องบอกคนอื่นต่อไป  ทำให้ถนัดที่จะ "ฟังมาแล้วก็พูดไป"  แต่ไม่ถนัดที่จะนำเอามาปฏิบัติในชีวิตจริงของตน
3.3. การเผยแพร่เป็นลักษณะฉาบฉวย ไม่ต่อเนื่อง  วิทยากรกับผู้ฟังเจอกันแค่ครั้งเดียวแล้วก็จบกัน
เน้นด้านปริมาณ มากกว่าด้านคุณภาพ
4.4. สื่อที่เป็นวัตถุมีมาก แต่บุคลากรที่จะเป็นคนสอนอย่างใกล้ชิด (closing) มีน้อย 
หลายคนมีความรู้มาก แต่ถ่ายทอดไม่มีประสิทธิภาพ 
หลายคนมีโอกาส แต่ก็สอนได้แค่ในระดับทาน-ศีล
หลายคนมีศักยภาพแต่ขาดโอกาสในการทำหน้าที่
5.5. มองว่าการสร้างคนเป็นเรื่องยาก จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างศาสนวัตถุ (ตำรา ห้องสมุด วัด สถานที่ปฏิบัติธรรม เจดีย์ พระพุทธรูป สถานีวิทยุ) เพราะถ้ามีงบประมาณพอก็จะทำเสร็จได้ 
โดยหวังว่าในอนาคตวัตถุเหล่านี้คงจะทำหน้าที่แทนครูอาจารย์  ซึ่งก็จะเป็นมรดกสำหรับคนมีสติปัญญายอดเยี่ยม
เขาจะรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในระดับสูง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น