2 ธ.ค. 2554

ครั้งที่ ๓๔ ภาพลักษณ์ (image) โดยทั่วไปของ คำว่า “พุทธศาสนา” ในยุคปัจจุบัน

ภาพลักษณ์ของคำว่า "พุทธศาสนา" ในสังคมชาวพุทธยุคปัจจุบัน 
สรุปได้ดังนี้
  • บริจาคทานหรือช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก
  • ถือศีลห้ากินเจหรือมังสวิรัติ
  • ถือศีลแปดเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม
  • ฝึกสมาธิเพื่อคลายเครียดจากปัญหาส่วนตัวบำบัดโรค
  • ฝึกสมาธิเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนการทำงาน
  • สร้างศาสนวัตถุขนาดใหญ่อลังการ
  • ตั้งยศถาบันดาศักดิ์ยกย่องเกียรติคุณทางสังคมให้แก่พระภิกษุ
  • เรียนปริยัติพระไตรปิฎก บาลีอภิธรรมปรัชญาและศาสนา
  • งานเก็บข้อมูลอ้างอิงและงานเผยแพร่ความรู้ธรรมะผ่านสื่อ
  • วิทยุโทรทัศน์อินเตอร์เน็ตหนังสือ เทปเสียงเทศน์  วิทยากรบรรยาย
  • มาตรฐานศีลธรรมของสังคม
  • เครื่องมืออบรมบุคลากรให้มีคุณธรรมจริยธรรม
  • ศรัทธาเลื่อมใสเจาะจงในตัวพระภิกษุที่มีชื่อเสียง หรือที่ตนเห็นว่าท่านเหนือกว่าผู้อื่น
  • วิถีชีวิตของนักบวช ทั้งที่บวชด้วยศรัทธาหรือตามประเพณีหรืออุปสมบทหมู่ในโอกาสต่างๆ
  • พิธีบูชากราบไหว้บวงสรวง ทำบุญประเพณี
  • ไสยศาสตร์ ของขลัง ศักดิ์สิทธิ์  มนต์คาถา
  • แก้กรรม สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา ทำนายอดีต-อนาคต
 
ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาทำกันไปในด้านใดด้านหนึ่ง เหมือนอยู่ในวังวน  จนแทบจะลืมแล้วไปว่า พุทธศาสนามีหลักสำคัญคือ อริยสัจ และมรรค ซึ่งบอกสอนสืบทอดกันมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  ให้มนุษย์นำไปศึกษาปฏิบัติจนสามารถดับทุกข์ในชีวิตของตนได้อย่างถาวร แล้วก็เอื้อเฟื้อบอกสอนคนอื่นต่อไป

ไม่ได้เน้น จะสร้างศาสนวัตถุเพิ่มขึ้นในโลก
ไม่ได้เน้น จะกำหนดประเพณี พิธีกรรม
ไม่ได้เน้น จะทำให้ทุกคนในโลกเป็นคนดีมีศีลธรรม
ไม่ได้เน้น จะให้ใครปรารถนาความเกิดในชาติหน้า แม้ว่าจะเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ไม่ได้เน้น จะให้มีอิทธิปาฏิหาริย์ที่เกินมนุษย์ทั่วไป
ไม่ได้เน้น จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้มวลชนแบบชั่วคราว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น