2 ธ.ค. 2554

ครั้งที่ ๓๘ บทสรุป ตอนที่ ๒ "สิ่งมีชีวิตในแง่ของนักวิทยาศาสตร์ "

      ๓.๑.๔  สิ่งมีชีวิตในแง่ของนักวิทยาศาสตร์
            ในแง่ของนักวิทยาศาสตร์ก็จัดให้ทั้ง สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ก็อาศัยหลักการที่ว่า หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุดคือเซลล์ที่มีนิวเคลียส  ซึ่งสัตว์บางประเภทมีเพียงเชลล์เดียว นั่นคือหลักทางวิทยาศาสตร์อธิบายไว้โดยอาศัยเพียงคุณลักษณะ ฝ่ายรูป ซึ่งสามารถพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นตามได้  นั่นคือไม่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ฝ่ายรูปและฝ่ายจิต  ส่วนในทางพุทธศาสนากล่าวว่า ชีวิตประกอบด้วย ฝ่ายรูปและฝ่ายจิต


            ในทางทฤษฎีด้านวิวัฒนาการ อธิบายไว้ว่า จุลินทรีย์ พืช สัตว์ และมนุษย์ มีวิวัฒนาการมาจากต้นกำเนิดเดียวกัน โดยเรียกสิ่งนั้นว่า Common ancestor  ซึ่งถ้าเราก็อาจจะอธิบายให้เชื่อมโยงกับคำสอนเรื่องรูปนามในทางพุทธศาสนา เราก็อธิบายได้ว่า Common ancestor (มีเซลล์เดียว) นั้นก็มีฝ่ายนามหรือจิตอยู่ด้วย แต่จิตนั้นยังมีศักยภาพต่ำมากๆ  ต่อมา Common ancestor (บางตัว) จิตเกิดการพัฒนาจนมีศักยภาพมากขึ้น  จิตนั้นก็สามารถผลักดันให้รูปร่างของ Common ancestor เปลี่ยนแปลงรูปร่างไป จนวิวัฒนาการมาเป็นจุลินทรีย์ พืช สัตว์ และมนุษย์  แต่กระบวนการทางวิวัฒนาการนี้ต้องใช้เวลานานมากๆ  แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีเพียงแค่ฝ่ายจิตเท่านั้นเป็นเหตุปัจจัยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนรูปร่าง ยังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้องอีกมากมายจนยากที่จะอธิบายให้รายละเอียดครบถ้วน 
            หรือยกตัวอย่าง ในกรณีเด็กทารกที่เกิดการปฏิสนธิแล้ว (มีเซลล์เดียว) ก็มีฝ่ายจิตเกิดด้วยทันที แต่จิตยังมีศักยภาพต่ำอยู่ ทำให้เคลื่อนไหวเองไม่ได้ สภาพจึงคล้ายกับอาการคนนอนหลับสนิท (เหมือนอยู่ในภวังค์) ไม่รับรู้อะไร แต่นั่นก็เรียกได้ว่า มีชีวิต  แต่ต่อมาอีกหลายเดือน พอฝ่ายจิตมีศักยภาพมากขึ้น จึงเริ่มผลักดันให้ร่างกายสามารถขยับได้บ้าง  ในขณะที่จิตยังไม่ค่อยมีศักยภาพนั้น เหตุปัจจัยอื่นๆ ก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงฝ่ายรูปได้มาก เช่น ธาตุอาหารที่ทารกในครรภ์ได้รับจากแม่  หรือแม้แต่สภาพจิตของแม่ก็มีผลกระทบต่อจิตใจและร่างกายของเด็กได้เช่นกัน  พอเด็กคลอดออกมาใหม่ก็จะเห็นว่า จิตของเด็กทารกนั้นยังมีศักยภาพไม่มาก ทำให้ขยับร่างกายไม่ค่อยได้ เอาแต่นอนเป็นส่วนใหญ่  หรือพอมีอะไรมากระทบที่ร่างกายก็ตกใจง่าย  หรือบางทีจิตเกิดคิดปรุงแต่งโดยอาศัยเรื่องราวจากความจำเก่าๆ (ธัมมารมณ์) ก็เกิดปฏิกิริยาแสดงอาการออกมาให้เราเห็นได้ เช่น ร้องไห้
            หรือการฝึกฝนพลังจิต จนสามารถเพ่งบังคับให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างได้ หรือเคลื่อนไหวได้ เหล่านี้ก็คือเหตุผลสนับสนุนว่า จิตมีศักยภาพที่จะผลักดันรูปได้  และที่เราทุกคนเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในชีวิตประจำวันนี้ส่วนใหญ่ก็เกิดจากการผลักดันของฝ่ายจิต  เพราะถ้าขาดฝ่ายจิตแล้วร่างกายก็ถูกเรียกว่า ศพ ซึ่งไม่มีอะไรผลักดัน (ยกเว้น ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ฝ่ายจิต)
            กล่าวโดยสรุปก็คือ สิ่งมีชีวิตนั้นมีกายและจิตที่สัมพันธ์กันอยู่  แต่พุทธศาสนาเน้นไปที่เรื่องเกี่ยวกับ ชีวิตมนุษย์และสัตว์  ไม่ได้เน้นเรื่องชีวิตแบบพืช หรือชีวิตแบบจุลินทรีย์ เพราะสองพวกนี้ถ้ามีจิตก็เป็นจิตที่มีศักยภาพต่ำมากๆ จนแทบจะไม่รับรู้เรื่องราวอะไร  อาจเปรียบเปรยได้ว่าเหมือนพวกมันมีสภาพ นิพพานแบบกลายๆ อยู่แล้ว  อย่างถ้ามีใครไปตะโกนด่ามัน หรือเอาไฟไปเผามัน  มันก็ไม่รู้สึกว่าฉันเดือนร้อนอะไร  มันไม่รัก ไม่ชัง ไม่โกรธแค้นใคร  มันก็ดำรงชีวิตอยู่และปฏิบัติตามหน้าที่ของมันอย่างซื่อตรงเท่านั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น